วันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2557

กลอนวันพ่อ

กลอนวันพ่อ




พระคุณพ่อ ผู้ก่อเกิด กำเนิดลูก
เฝ้าพันผูก ปลูกฝัง คำสั่งสอน
คอยถนอม กล่อมเกลี้ยง เลี้ยงอาทร
คุณบิดร มารดา ค่าอนันต์
ลูกไม่มี สิ่งใด จะแทนทด
มีเพียงบท กาพย์กลอน เป็นของขวัญ
แด่ร่มโพธิ์ ร่มไทร ใจผูกพัน
เป็นมิ่งขวัญ ของลูก ปลูก







รัฐธรรมนูญไทย 18 ฉบับ

รัฐธรรมนูญไทย 18 ฉบับ






ฉบับที่ 1 พ.ศ.2475

     เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นั้น คณะราษฎร์ ซึ่ง มีพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นหัวหน้า ได้ร่วมกันทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศจากพระมหากษัตริย์ เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศจากระบอบสมบรูณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบ ประชาธิปไตย อันมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด และพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ มีโดยที่คณะราษฎร์ได้นำพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน สยามชั่วคราวซึ่งได้ร่างเตรียมไว้แล้ว ขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ และพระองค์จึงได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้วพระราชทานแก่คณะราษฎร ซึ่งถือว่าประเทศไทยได้เริ่มมีรัฐธรรมนูญใช้ในการปกครองประเทศเป็นครั้งแรก นับแต่นั้นมา
กฎหมายดังกล่าว ถือเป็นรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรฉบับแรก ซึ่งเป็นฉบับชั่วคราวและเป็นฉบับที่มีอายุการใช้งานเร็วที่สุด เดือน 13 วัน นับจากการประกาศและบังคับใช้ จำนวน 39 มาตรา และได้รับการยกเลิกอย่าง "สันติ" เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 เนื่องจากการประกาศ และบังคับใช้รัฐธรรมนูญใหม่ ฉบับถาวร

ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2475

     สภาผู้แทนราษฎรก็ได้แต่งตั้งอนุกรรมการขึ้นคณะหนึ่งทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศอย่างถาวร รัฐธรรมนูญฉบับที่ นี้ มีหลักการและแนวทางในการปกครองประเทศคล้ายคลึงกับรัฐธรรมนูญฉบับที่ มาก รัฐธรรมนูญฉบับนี้ เป็นรัฐธรรมนูญไทยที่ใช้บังคับได้นานที่สุดเท่าที่ประเทศไทยเคยมีรัฐธรรมนูญ มา โดยได้ประกาศ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 จำนวน 68 มาตรา และได้รับการยกเลิกอย่าง "สันติ" เมื่อวันที่ พฤษภาคม 2489รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ทั้งหมดนั้น เป็นระยะเวลายาวนานถึง 13 ปี เดือน โดยมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ครั้ง คือ ครั้งที่ เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2482แก้ไขเพิ่มเติม ว่าด้วยนามประเทศจาก "สยาม" เป็น "ไทย" ยังผลให้ชื่อของรัฐธรรมนูญต้องเปลี่ยนเป็น "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ครั้งที่ เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2483 แก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยบทเฉพาะกาล  ครั้งที่ เมื่อวันที่ ธันวาคม 2485 แก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2489

     เนื่องจากได้ใช้รัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้านี้ มาเป็นเวลานานถึง 15 ปีแล้ว เหตุการณ์บ้านเมืองได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นอันมาก สมควรที่จะเลิกบทเฉพาะกาล และปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2475และที่สำคัญ ประเทศไทยต้องการจะสมัครเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติจึงต้องแสดงให้ชาวโลก ได้เห็นว่าประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย จึงทำให้ต้องปรับปรุงแก้ไขรัฐธรรมนูญเสียใหม่ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2489 จำนวน 96 มาตรา โดยนายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม) นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ และถูก "ฉีกทิ้ง" เมื่อวันที่ 8พฤศจิกายน 2490 โดยการรัฐประหารของคณะรัฐประหาร อันมีพลโท ผิน ชุณหะวัน นายทหารกองหนุน เป็นหัวหน้า รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ ปี เดือน 28 วัน

ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2490

     คณะรัฐประหาร อ้างว่า ประเทศชาติตกอยู่ในภาวะวิกฤติการณ์รัฐบาลและรัฐสภาไม่สามารถแก้ไขให้กลับสู่ภาวะปกติได้จึงจำต้องให้เลิกใช้รัฐ ธรรมนูญ พ.ศ. 2489 และประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2490 ขึ้นแทน เมื่อวันที่ พฤศจิกายน 2490 รวมจำนวน 98 มาตราต่อมา รัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็ถูกยกเลิกอย่าง"สันติ" เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2492 โดยการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ ปีเดือน 14 วัน ระหว่าง ปี เดือน 14 วันรัฐธรรมนูญของคณะรัฐประหารฉบับนี้ มีอีกชื่อหนึ่งว่ารัฐธรรมนูญฉบับ "ใต้ตุ่ม" หรือ "ตุ่มแดง" เนื่องจากก่อนหน้านั้น พลโท หลวงกาจสงคราม (กาจ เก่งระดมยิง) รองหัวหน้าคณะรัฐประหาร ซึ่งมีส่วนอย่างสำคัญในการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้แล้วนำไปเก็บซ่อนไว้ใต้ ตุ่มน้ำเพราะเกรงว่าความจะแตกถ้าหากมีใครมาพบเข้า

ฉบับที่  5 พ.ศ. 2492

     รัฐธรรมนูญฉบับบนี้เกิดขึ้นโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช2491 โดยที่จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน แล้วจึงนำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสนอต่อรัฐสภาเพื่อให้ความเห็นชอบต่อไปได้ประกาศใช้บังคับเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2492 จำนวน 188มาตราแต่ในที่สุด ก็ถูก "ฉีกทิ้ง" เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2494 โดยการทำรัฐประหารภายใต้การนำของจอมพล ป. พิบูลสงคราม รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ ปี เดือน วัน

ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2495

     ภัยคุกคามจากลัทธิคอมมิวนิสต์จึงได้เกิดการรัฐประหารนำรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ พ.ศ. 2475 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (พ.ศ. 2482 กับ พ.ศ. 2483) มาใช้แทนเป็นการชั่วคราวไปพลางก่อน  เมื่อได้ดำเนินการเสร็จแล้ว จึงได้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร และสภามีมติเห็นชอบ จึงได้ประกาศมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ มีนาคม 2495ประกอบด้วยบทบัญญัติทั้งหมด 123 มาตรา โดยมีบทบัญญัติเดิมของรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2475 อยู่เพียง41 มาตราเท่านั้น นอกนั้นอีก 82 มาตรา เป็นบทบัญญัติที่เขียนเพิ่มเติมขึ้นใหม่ ซึ่งบทบัญญัติใหม่ดังกล่าวนั้น ส่วนใหญ่ก็นำมาจากรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2492  รัฐธรรมนูญฉบับที่ นี้ จึงมีลักษณะผสมผสานกันระหว่างรัฐธรรมนูญทั้ง ฉบับข้างต้น ใน ระหว่างที่มีการใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ไปได้ประมาณ ปี ก็ได้เกิด การเลือกตั้งสกปรกทำให้คณะรัฐประหารภายใต้การนำของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศ เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2500 และประกาศยุบเลิกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้ง ประเภท แต่ก็มิได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญ ที่สุด รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ก็จึงได้ถูก "ฉีกทิ้ง" เสีย เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2501รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ทั้งสิ้น ปี เดือน 12 วัน

ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2502

     หลังการปฏิวัติ จอมพลสฤษดิ์ ได้ออกประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2495  โดยคณะปฏิวัติทำหน้าที่บริหารประเทศออกกฎหมายโดยการออกประกาศของคณะปฏิวัติ และบริหารราชการแผ่นดินโดยหัวหน้าคณะปฏิวัติเป็นผู้สั่งการ เป็นผู้ใช้อำนาจเผด็จการอย่างไม่มีขอบเขต จนถึงวันที่ 28 มกราคม 2502 จึงได้ประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญไทยที่สั้นที่สุด คือ มีเพียง 20 มาตราเพื่อรอการร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวร แต่ก็ถูกใช้เป็นเวลายาวนานรวมถึง 9ปี เดือน 20 วัน จนกระทั่งถูกยกเลิกอย่าง "สันติ" เมื่อสภาร่างรัฐธรรมนูญได้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรแล้วเสร็จและประกาศบังคับ ใช้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2511

ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2511

     รัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีจำนวน 183 มาตรา ถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ ของไทย สภาร่างรัฐธรรมนูญ ทว่าเป็นสภาร่างรัฐธรรมนูญที่ทำหน้าที่ทางนิติบัญญัติด้วย ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว นับว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่ใช้เวลาในการยกร่างจัดทำยาวนานที่สุดถึง ปีเศษ โดยละเอียดถี่ถ้วน จนในที่สุด ก็ได้ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2511 แต่ทว่าก็กลับมีอายุในการใช้งานเพียง ปี เดือน 27 วัน กล่าวคือ หลังจากใช้บังคับได้ไม่นานนัก เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 รัฐธรรมนูญก็ถูก "ฉีกทิ้ง" อีกครั้งหนึ่ง โดยการทำรัฐประหารตนเองของจอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรี และผู้บัญชาการทหารสูงสุดในขณะนั้น และก็ได้นำเอารัฐธรรมนูญฉบับที่ มาแก้ไขปรับปรุงรายละเอียดใหม่เล็กน้อยก่อนประกาศใช้บังคับ

ฉบับที่ 9 พ.ศ.2515

     รัฐธรรมนูญฉบับที่ ยังห้ามมิให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นรัฐมนตรีในขณะเดียวกันด้วย จึงเท่ากับเป็นการกีดกันมิให้ผู้แทนราษฎรซึ่งมาจากการเลือกตั้ง เข้ามามีส่วนร่วมในการใช้อำนาจบริหารจึงสร้างความไม่พอใจให้แก่ผู้แทนราษฎรเป็นอย่างมาก รัฐบาลไม่สนับสนุนจัดสรรงบประมาณแผ่นดินให้แก่ผู้แทนราษฎรในรูปของงบพัฒนา ซึ่งไม่ชอบต่อการบริหารงานแบบประชาธิปไตย จึงทำรัฐประหาร พร้อมยกเลิกรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ ไปในทึ่สุด และได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ฉบับที่ แทนรัฐ ธรรมนูญฉบับที่ 9 ซึ่งประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญชั่วคราว เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2515 นั้น มีบทบัญญัติรวมทั้งสิ้นเพียง 23 มาตรา ทว่าที่สำคัญ ก็คือ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ได้นำเอาอำนาจพิเศษของนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 17 มาบัญญัติไว้อีกด้วย ขณะที่มีเวลาใช้บังคับอยู่เพียง ปี เดือน 22 วัน ก็ต้องถูกยกเลิกไป อย่าง "สันติ" เมื่อวันที่ ตุลาคม 2517 เนื่องจากการประกาศและบังคับใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่

ฉบับที่ 10 พ.ศ. 2517

     เป็นรัฐธรรมนูญ ฉบับหนึ่งที่ได้ชื่อว่าเป็นประชาธิปไตยมากที่สุด มีบทบัญญัติที่เปลี่ยนแปลงไปในทางก้าวหน้าและเป็นแบบเสรีนิยมมาเริ่มต้น ในหมวด บททั่วไป ได้มีบทบัญญัติห้ามมิให้มีการนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการล้มล้างสถาบันพระมหา กษัตริย์ หรือ รัฐธรรมนูญกและหมวด พระมหากษัตริย์ ได้บัญญัติขึ้นเป็นครั้งแรกว่า ในการสืบราชสันตติวงศ์นั้น ในกรณีที่ไม่มีพระราชโอรส รัฐสภาอาจให้ความเห็นชอบในการให้พระราชธิดาสืบราชสันตติวงศ์ได้ตลอดจนรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ก็ถูกร่างขึ้นภายหลังเกิดเหตุการณ์ วันมหาวิปโยคง นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชน จึงได้เดินทางมาชุมชนกัน ในที่สุด จอมพลถนอม ก็ได้ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเดินทางออกนอกประเทศพร้อมกับคณะทรราชย์  ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้นาย สัญญา ธรรมศักดิ์ ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี ด้วยพระองค์เอง เพื่อบริหารประเทศชาติในยามคับขัน หลังจากนั้น นายสัญญา จึงได้ประกาศให้สัญญากับประชาชนว่า จะเร่งร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายใน 6เดือน และจะจัดให้มีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรในประเทศโดยเร็วรัฐมนตรีให้พิจารณาปรับปรุงแก้ไขและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้เมื่อวันที่ ตุลาคม 2517 จำนวน 238มาตรา  มีการแก้ไขเพิ่มเติมเพียงครั้งเดียว และมีระยะเวลาการใช้เพียง ปี ก็ถูก "ฉีกทิ้ง" โดยประกาศของ "คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน" ซึ่งมี พล.ร.อ. สงัด ชลออยู่ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นหัวหน้าคณะฯ เมื่อวันที่ ตุลาคม 2519

ฉบับที่ 11 พ.ศ.2519

     รัฐธรรมนูญฉบับที่ 11 นั้น เกิดจากการที่คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ภายใต้การนำของ พล.ร.อ. สงัด ชลออยู่ ได้ เข้ายึดอำนาจหลังจากเกิดเหตุการณ์ล้อมปราบนักศึกษากับประชาชน ซึ่งชุมนุมประท้วงการเดินทางกลับสู่ประเทศไทยของจอมพลถนอม กิตติขจร ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ด้วยความทารุณโหดร้ายอย่างถึงที่สุด คนไทยต้องฆ่ากันเอง คณะปฏิรูปฯ จึงได้ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับที่ 10 แล้วได้ทำการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้น และประกาศใช้บังคับในเวลาต่อมา เหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้เราสิ้นสุดยุคประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญที่ได้มาด้วยการต่อสู้ของ ประชาชนในระยะเวลาอันสั้นหลังการปฏิวัติล้มรัฐบาล อันเนื่องมาจากเหตุการณ์นองเลือด เมื่อวันที่ ตุลาคม 2519 แล้ว คณะปฏิวัติ ก็ได้แต่งตั้ง นาย ธานินทร์ กรัยวิเชียร ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี พร้อมๆ กันกับที่ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ เมื่อวันที่ 22ตุลาคม 2519 โดยมีบทบัญญัติเพียง 29 มาตราเท่านั้น ซึ่งในที่สุด ก็ถูก "ฉีกทิ้ง" โดยการทำรัฐประหารของคณะปฏิรูปฯ เดิม ในนามใหม่ว่า "คณะปฏิวัติ" ในวันที่ 20 ตุลาคม 2520 ซึ่งมีหัวหน้าคนเดิม คือ พล.ร.อ. สงัด ชลออยู่ รวมอายุการบังคับใช้แค่ ปีเท่านั้น

ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2520

     รัฐธรรมนูญฉบับ นี้ เกิดจากการทำรัฐประหารของคณะปฏิวัติ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2520 โดยให้เหตุผลว่าเพราะภัยคุกคามของคอมมิวนิสต์ หลังจากประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 11 แล้ว คณะปฏิวัติได้จัดตั้งคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวขึ้น ตามหลักการที่คณะปฏิวัติกำหนดไว้ จากนั้น คณะปฏิวัติจึงได้ประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2520 ในวันที่ พฤศจิกายน 2520
รัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีบทบัญญัติ 32 มาตรา และได้รับการยกเลิกอย่าง "สันติ" เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2521เนื่องจากการประกาศใช้ธรรมนูญฉบับใหม่ คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 อันเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 13 ของประเทศไทย
ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2521
รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีบทบัญญัติทั้งหมดรวมบทเฉพาะกาล 206 มาตรา โดยสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ นับว่าเป็นประชาธิปไตยพอสมควรได้มีความพยายามที่จะแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับนี้อยู่หลายครั้ง ซึ่งสุดท้ายก็ประสบความสำเร็จ เมื่อปี พ.ศ. 2528 ว่าด้วยเรื่อง ระบบการเลือกตั้ง โดยแก้ไขจากแบบรวมเขตรวมเบอร์ หรือ คณะเบอร์เดียว มาเป็นการเลือกตั้งแบบผสม เขตละไม่เกิน คน การแก้ไขเพิ่มเติมครั้งนี้ ถือว่าเป็นการแก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ ขณะที่การแก้ไขเพิ่มเติมอีกครั้ง คือ ครั้งที่ นั้นเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2532เกี่ยวกับเรื่องประธานรัฐสภา โดยแก้ไขให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรดำรงตำแหน่งเป็นประธานรัฐสภารัฐ ธรรมนูญฉบับนี้ ได้ใช้บังคับเป็นเวลาค่อนข้างยาวนานถึง 12 ปีเศษ แต่ก็ถูก "ยกเลิก" โดยการรัฐประหารอีกจนได้ เมื่อคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (ร.ส.ช.) ภายใต้การนำของ พลเอก สุนทร คงสมพงษ์ ได้เข้าทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศจากรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อวันที่23 กุมภาพันธ์ 2534

ฉบับที่ 14 พ.ศ. 2534

     ภายหลังจากที่ ร.ส.ช. ได้ทำการยึดอำนาจแล้ว ก็กำหนดให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2521และวุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรีสิ้นสุดลง โดยชี้แจงถึงเหตุผลและความจำเป็นของการเข้ายึดและควบคุมอำนาจในการปกครอง ประเทศจากนั้น ร.ส.ช. จึงได้นำร่างธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศใช้ เมื่อวันที่ มีนาคม2534 โดยมีบทบัญญัติอยู่เพียง 33 มาตรา
รัฐธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรฉบับนี้ มีระยะเวลาการใช้บังคับสั้นมาก คือ เพียง เดือน กับอีก 8วัน เท่านั้น ก็จึงถูกยกเลิกไป จากผลของการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 เมื่อวันที่ ธันวาคม พ.ศ. 2534

ฉบับที่ 15 พ.ศ.2534

     รัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีทั้งสิ้นจำนวน 233 มาตรา และได้ประกาศใช้ เมื่อวันที่ ธันวาคม 2534 นั้นในที่สุด เมื่อรัฐธรรมนูญนี้ มีผลบังคับใช้ บทบัญญัติมาตรา 159 ก็ได้เปิดโอกาสให้เชิญบุคคลภายนอกมาเป็นนายกรัฐมนตรีได้ และหลังจากที่มีการเลือกตั้งทั่วไปตามรัฐธรรมนูญนี้ เนื่องด้วยปัญหาบางประการ ทำให้พรรคการเมืองที่ได้เสียงข้างมากในฐานะพรรคแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล ได้เชิญนายทหารในคณะ ร.ส.ช. คือ พลเอก สุจินดา คราประยูร ให้มาเป็นนายกรัฐมนตรี พร้อมกับเหตุผลที่ว่า เสียสัตย์เพื่อชาติ   ซึ่งนับว่าเป็นการทวนกระแสกับความรู้สึกของประชาชนไม่น้อยประชาชนซึ่ง รวมตัวกันประท้วง  ในช่วงระหว่าง วันที่ 17 ถึง 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 แต่ทว่ากลับเป็นการนำไปสู่เหตุการณ์นองเลือดที่เรียกกันว่า เหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ ในที่สุด ซึ่งต่อมา สถานการณ์ต่างๆ ก็บีบรัดจนทำให้พลเอกสุจินดาต้องลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไปอย่างใจจำยอมรัฐธรรมนูญฉบับประวัติศาสตร์นี้ มีระยะเวลาใช้บังคับรวมทั้งสิ้น ปี 10 เดือน วัน ซึ่งได้ถูก "ยกเลิก" เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2540 โดยการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540

ฉบับที่ 16 พ.ศ. 2540

     เป็นกฎหมายสูงสุดว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองประเทศไทยที่เป็นลายลักษณ์ อักษร ฉบับที่ 16พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2540ปัจจุบันรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้สิ้นสุดลงแล้ว ด้วยการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540 นี้ถือเป็นรัฐธรรมนูญที่ริเริ่มขึ้นโดยพรรคชาติไทย นายบรรหาร ศิลปอาชานายก  รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวถูกเรียกว่าเป็น "รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน" เนื่องจากการมีส่วนร่วมของประชาชนในการร่าง

ฉบับที่ 17 พ.ศ.2549

     ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 123 ตอนที่ 102 ก ณ วันที่ ตุลาคม พ.ศ. 2549 มี 39 มาตราเป็นรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวที่หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ หลังจากที่ได้กระทำการรัฐประหารเป็นผลสำเร็จ เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549คณะ ปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ได้แต่งตั้งทีมงานนักกฎหมายเพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวนี้ ซึ่งเริ่มต้นประกอบด้วยนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ซึ่งเป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญหลายฉบับนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ และวิษณุ เครืองาม แต่หลังการประกาศชื่อ สองคนนี้ได้ลาออกเนื่องจากได้รับเสียงวิจารณ์ว่าเคยร่วมงานกับขั้วอำนาจเก่า ของรัฐบาลทักษิณ ชินวัตรภายหลังนายมีชัยได้ลาออกจากการเป็นหัว หน้าทีมร่างรัฐธรรมนูญ โดย คปค. ได้แต่งตั้งนายจรัญ ภักดีธนากุล ซึ่งในช่วงนั้นดำรงตำแหน่งเลขาธิการประธานศาลฎีกา ทำหน้าที่แทน

ฉบับที่ 18 พ.ศ. 2550


     รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 18ซึ่งจัดร่างโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ในระหว่าง พ.ศ. 2549-2550 ภายหลังการรัฐประหารในประเทศโดย คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 โดยร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550และมีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายทันที แทนที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549

วันอาทิตย์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

สรุปเหตุการณ์วันที่ 20 พ.ค.ประกาศใช้กฏอัยการศึก และ22 พ.ค. 2557 วันยึดอำนาจการปกครองในประเทศไทย


รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เวลา 16.30 น. คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. (อังกฤษ: National Peace and Order Maintaining Council ) โดยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก เป็นหัวหน้าคณะ นับเป็นการรัฐประหารครั้งที่ 13 ในประวัติศาสตร์ไทย ก่อนหน้านี้ เกิดรัฐประหารในวันที่ 19 กันยายน 2549
สองวันก่อนหน้านั้น พลเอก ประยุทธ์ ประกาศกฎอัยการศึก ตั้งแต่เวลา 03:00 นาฬิกา ด้วยการอาศัยอำนาจตามกฎอัยการศึก พ.ศ. 2457 ต่อมากองทัพบกได้ออกประกาศยุติการดำเนินการของศูนย์อำนายการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) และจัดตั้ง กองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (กอ.รส.) ขึ้นแทนโดยมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นผู้อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ผอ.รส.) และออกประกาศคำสั่ง และขอความร่วมมือในหลายเรื่อง เช่น ขอให้ระงับการแพร่ภาพออกอากาศ โทรทัศน์ดาวเทียมและวิทยุชุมชน ขอความร่วมมือในการเผยแพร่เนื้อหาทางอินเทอร์เน็ต และเชิญประชุมข้าราชการระดับสูง ผู้นำกลุ่มการเมือง ตัวแทนพรรคการเมืองต่าง ๆ เป็นต้น
เบื้องหลังลำดับเหตุการณ์ 20 พฤษภาคม
03:30 น. - กำลังทหารพร้อมอาวุธ เข้าควบคุมที่ทำการช่องโทรทัศน์ต่างๆ ทั้งภาคพื้นดินและผ่านดาวเทียมหลายช่อง โดยร้องขอให้เชื่อมสัญญาณออกอากาศ จากสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5
04:00 น. - สื่อสังคมออนไลน์ เผยแพร่คำสั่ง ประกาศกฎอัยการศึก และประกาศจัดตั้ง กองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (กอ.รส.)
06:30 น. - ผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะ ผู้อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย ออกประกาศใช้กฎอัยการศึก ทั่วราชอาณาจักร ทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย
08:25 น. - กอ.รส.ออกคำสั่งฉบับที่ 1 ให้สื่อวิทยุและโทรทัศน์ทั้งหมด รับสัญญาณถ่ายทอด แถลงการณ์จากกองทัพบก ทุกครั้งที่ได้รับการประสาน
08:42 น. - กอ.รส.ออกคำสั่งฉบับที่ 2 ให้ผู้ชุมนุมทางการเมืองอยู่ในพื้นที่เดิม โดย กปปส. ให้อยู่ที่ถนนราชดำเนิน เขตพระนคร และถนนแจ้งวัฒนะ ช่วงหน้าศูนย์ราชการฯ เขตหลักสี่ ส่วน นปช. ให้อยู่ที่ถนนอักษะ เขตทวีวัฒนา
09:48 น. - กอ.รส. ออกคำสั่งฉบับที่ 3 ห้ามสื่อข่าวที่กระทบต่อการรักษาความสงบ
10:36 น. กอ.รส. ออกคำสั่งฉบับที่ 6 สั่งให้โทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ระงับการออกอากาศจำนวน 10 ช่อง รวมถึงวิทยุชุมชนที่ไม่ได้รับอนุญาต
11:06 น. กอ.รส. ออกคำสั่งฉบับที่ 5 แต่งตั้งคณะที่ปรึกษา กอ.รส.
12:40 น. กอ.รส. ออกคำสั่งฉบับที่ 4 เชิญบุคคลสำคัญร่วมประชุม แก้ปัญหาความไม่สงบ
14:00 น. กอ.รส. เริ่มประชุมตามคำสั่งฉบับที่ 4 ที่สโมสรทหารบก สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ปฏิเสธไม่เข้าร่วมประชุม
19:34 น. กอ.รส. ออกคำสั่งฉบับที่ 8 ขอความร่วมมือสื่อสังคมออนไลน์ ระงับส่งข้อความปลุกระดม สร้างความรุนแรง ไม่เคารพกฎหมาย
19:45 น. กอ.รส. ออกคำสั่งฉบับที่ 7 สั่งให้โทรทัศน์ดาวเทียม ระงับการออกอากาศเพิ่มเติมอีก 4 ช่อง
20:09 น. กอ.รส. ออกคำสั่งฉบับที่ 9 สั่งห้ามสื่อทุกแขนง เชิญผู้ไม่มีตำแหน่งราชการ แสดงความเห็นก่อความขัดแย้ง พร้อมสั่งให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรจังหวัด เข้าระงับการชุมนุมต่อต้าน การปฏิบัติงานของ กอ.รส.
20:49 น. กอ.รส. ออกคำสั่งฉบับที่ 10 สั่งห้ามข้าราชการ-เจ้าหน้าที่พลเรือน-ประชาชน พกพา-ใช้อาวุธสงครามและวัตถุระเบิด เว้นทหารตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยตามคำสั่ง
21:04 น. พันเอกวินธัย สุวารี รองโฆษกกองทัพบก ในฐานะ โฆษก กอ.รส. ชี้แจงขั้นตอนการประกาศกฎอัยการศึก ว่าเป็นไปตามกฎหมายทุกประการ ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย และ กอ.รส. ออกคำสั่งฉบับที่ 12 ให้ตำรวจ, เจ้าหน้าที่พลเรือน, หน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ ปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ
21 พฤษภาคม
ในวันที่ 21 พฤษภาคม 2557 กอ.รส. ไม่ได้ออกประกาศเพิ่มเติม และกลุ่มผู้ชุมนุมทั้งสองกลุ่มยังคงดำเนินกิจกรรมของตัวเองตามปกติ โดยเหตุการณ์สำคัญมีเพียงแค่การตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ตและสั่งให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายงานต่อ กอ.รส. เพื่อควบคุมเนื้อหาออนไลน์เท่านั้น
และในช่วงบ่ายก็ได้มีประกาศ กอ.รส. ฉบับที่ 7/2557 เพื่อเรียกตัวแทนจาก 7 ฝ่ายเข้าร่วมประชุมที่สโมสรกองทัพบก ถนนวิภาวดี-รังสิต โดยห้ามมิให้มีผู้ติดตามเดินทางมาด้วย โดยรายนามผู้ที่ถูกเรียนเชิญมีดังต่อไปนี้
ผู้แทนรัฐบาล ประกอบด้วย รักษาการณ์นายกรัฐมนตรี และผู้ติดตาม 4 ท่าน ผู้แทนวุฒิสภา ประกอบด้วย รองประธานวุฒิสภาท่านที่ 1 พร้อมคณะอีก 4 ท่าน คณะกรรมการการเลือกตั้ง ทั้ง 5 ท่าน ผู้แทนพรรคเพื่อไทย
ประกอบด้วย นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ หัวหน้าพรรค และผู้ติดตาม 4 ท่าน ผู้แทนพรรคประชาธิปัตย์ ประกอบด้วย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค และผู้ติดตาม 4 ท่าน ผู้แทนคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ประกอบด้วย นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. พร้อมคณะอีก 4 ท่าน
ผู้แทนแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ประกอบด้วย นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธาน นปช. และคณะอีก 4 ท่าน โดยการประชุมเป็นไปอย่างเคร่งเครียดตั้งแต่เวลา 13.30 น. จน พล.อ.ประยุทธ์ ตัดสินใจให้มาประชุมกันใหม่ในวันพรุ่งนี้เวลา 14.00 น.เพื่อหาทางออกของประเทศร่วมกัน ภายหลังรัฐมนตรีรักษาการได้ออกมาเผยว่าท่าทีของ พล.อ.ประยุทธ์ในที่ประชุมดูแปลกไป แต่ตนเชื่อว่าพล.อ.ประยุทธคงไม่คิดจะทำการรัฐประหารแน่นอน
22 พฤษภาคม
14:00 น. - ประชุมร่วม 7 ฝ่าย เพื่อหาทางออกของประเทศครั้งที่ 2 โดยมี ผบ.ทบ. เป็นประธานในที่ประชุมระหว่างการประชุม พล.อ.ประยุทธ์ ได้เปิดโอกาสให้แต่ละฝ่ายได้เสนอแนวทางที่เห็นว่าเป็นทางออกที่ดีที่สุดของประเทศ โดยได้สอบถาม นายชัยเกษม นิติสิริ รมว.ยุติธรรม ในฐานะหัวหน้าคณะฝ่ายรัฐบาล ว่าตกลงรัฐบาลยืนยันไม่ลาออกทั้งรายบุคคลและทั้งคณะใช้หรือไม่ ซึ่งนายชัยเกษมระบุว่านาทีนี้ไม่ลาออกและต้องการดำเนินการต่อจนกว่าจะครบวาระตามกฎหมาย พล.อ.ประยุทธ์ จึงตอบกลับว่าจะยึดอำนาจการปกครอง และเมื่อสิ้นสุดเสียง เจ้าหน้าที่ทหารกว่าหลายร้อยนายได้เข้ามาชาร์จผู้ประชุมทั้ง 7 ฝ่ายและพาขึ้นรถออกไปทันที โดยไม่ทราบจุดหมายปลายทาง
16:30 น. (ประกาศจริง เวลา 17.00 น.) - พล.อ.ประยุทธ์ ประกาศตั้ง "คณะรักษาความสงบแห่งชาติ" (อังกฤษ: National Peace and Order Maintaining Council อักษรย่อ: คสช.) เข้ามายึดอำนาจรัฐบาลรักษาการณ์ในทันที รวมถึงให้กองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (กอ.รส.) สิ้นสุดอำนาจทันทีเช่นกัน แต่ทั้งนี้คำสั่งต่างๆ ยังคงมีผลต่อเนื่องอยู่
18:00 น. - คณะรักษาความสงบแห่งชาติประกาศใช้พระราชบัญญัติกฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักรอีกครั้ง
18:20 น. - คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ออกประกาศฉบับที่ 3 ห้ามมิให้ประชาชนออกจากเคหะสถานตั้งแต่เวลา
22.00 น.-05.00 น. ทั่วราชอาณาจักร เว้นแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ จากกรณีนี้สถานที่สำคัญหลายแห่งทั่วประเทศประกาศปิดทำการตั้งแต่เวลา 20.00 น. เป็นต้นไป และระบบขนส่งมวลชนต่างๆ คือ รถไฟฟ้าบีทีเอส ประกาศปิดทำการตั้งแต่เวลา 21.00 น. โดยจะเป็นรถเที่ยวสุดท้ายที่ออกจากสถานีหมอชิตและสถานีแบริ่ง รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ประกาศปิดทำการตั้งแต่เวลา 21.00 น. โดยเป็นรถเที่ยวสุดท้ายที่ออกจากสถานีหัวลำโพง และสถานีบางซื่อ และรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ประกาศปิดทำการตั้งแต่เวลา 21.00 น. โดยเป็นรถเที่ยวสุดท้ายที่ออกจากสถานีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และสถานีพญาไท
18:30 น. - คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ออกประกาศฉบับที่ 4 บังคับให้สื่อวิทยุ โทรทัศน์ และโทรทัศน์ดาวเทียมทุกสถานี งดออกรายการตามปกติ และให้ใช้สัญญาณของสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกออกอากาศไปจนกว่าจะได้รับคำสั่งเปลี่ยนแปลง
19:00 น. - คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ออกประกาศขอให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ชุมนุมกลับสู่ภูมิลำเนาของตนตามเดิม โดยทางกองทัพบกได้จัดขบวนรถจากองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพเพื่ออำนวยความสะดวก และได้ออกคำสั่งให้ทหารที่รับผิดชอบในพื้นที่ช่วยจัดการบริหารให้ประชาชนสามารถเดินทางกลับได้อย่างปลอดภัย
19:10 น. - คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ออกประกาศฉบับที่ 5 โดยมีเนื้อความดังนี้
ให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 สิ้นสุดอำนาจลงชั่วคราวทุกหัวข้อ ยกเว้นหมวดที่สอง (พระมหากษัตริย์) หมวดหน้าที่วุฒิสภา และองค์กรอิสระให้มีอำนาจอยู่เช่นเดิมให้ สมาชิกวุฒิสภา ยังคงดำรงตำแหน่งตามปกติแต่นับจำนวนสมาชิกใหม่ตามสมาชิกที่เหลืออยู่ในวุฒิสภาในขณะที่ออกคำสั่งฉบับนี้ ให้คณะรัฐมนตรีรักษาการที่ดำรงตำแหน่งอยู่ทุกตำแหน่งหมดอำนาจตั้งแต่ประกาศฉบับนี้
ยกเลิกการพิจารณาคดีที่เกิดขึ้นช่วงนี้ทั้งหมดให้องค์กรอิสระ และองค์กรอื่นๆ ที่ถูกจัดตั้งตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้ดำเนินงานตามปกติ
19:19 น. - คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ออกประกาศฉบับที่ 6 โดยให้แต่งตั้ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้า คสช. พล.อ. ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร เป็นรองหัวหน้า คสช. พล.ร.อ. ณรงค์ พิพัฒนาศัย เป็นรองหัวหน้า คสช. พล.อ.อ. ประจิน จั่นตอง เป็นรองหัวหน้า คสช. พล.ต.อ. อดุลย์ แสงสิงแก้ว เป็นรองหัวหน้า คสช. และ พล.ต. อุดมเดช สีตบุตร เป็นเลขาธิการ
19:42 น. - คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ออกประกาศฉบับที่ 7 สั่งห้ามชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คน
20:55 น. - คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ออกประกาศฉบับที่ 8 โดยให้ยกเว้นข้อห้ามการออกจากเคหสถานยามค่ำคืนตามประกาศที่ 3/2557 เพื่อบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้นโดยให้ยกเว้นกับกลุ่มบุคคลดังต่อไปนี้ กลุ่มบุคคลที่เดินทางเข้า-ออกประเทศ กลุ่มบุคคลที่ต้องประกอบอาชีพแบบผลัดเวลา (เข้ากะ) เช่น โรงงาน โรงพยาบาล ธุรกิจการบิน กลุ่มบุคคลที่ต้องเดินทางเพื่อขนส่งสินค้าที่มีอายุจำกัด หรือสินค้าเย็น กลุ่มบุคคลที่มีกิจธุระจำเป็น เช่น ผู้ป่วยที่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาล ผู้ปฏิบัติการที่เกี่ยวกับมนุษยธรรม สำหรับกลุ่มบุคคลที่มีกิจธุระนอกเหนือจากข้างต้น ให้ขออนุญาตเจ้าหน้าที่ทหารในพื้นที่ก่อนออกเดินทาง
20.30 น. 7-11โพสต์ประกาศผ่านเฟซบุ๊ก จะปิดให้บริการ
22.00-05.00น.ตามการประกาศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ประกาศ ฉบับที่ 3 ห้ามประชาชนออกนอกเคหะสถานตั้งแต่เวลา 22.00-05.00น.
21.06 น. คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ออกประกาศฉบับที่ 9/2557 ให้สถานศึกษา ทั้งในส่วนของรัฐและเอกชน หยุดการเรียนการสอน 23 - 25 พฤษภาคม 2557
21.40 น. บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) แจ้งว่า สถานีบริการน้ำมัน ปตท.ปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 22:00น. และเปิดให้บริการตั้งแต่ 05:00น. มีผลตั้งแต่วันนี้จนกว่าจะมีการแจ้งเปลี่ยนแปลง
21.55 น. คสช.ขึ้นตัววิ่งในหน้าจอโทรทัศน์ ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลบนสื่อออนไลน์ ที่มีการระบุว่าจะมีการปิดสัญญาณอินเตอร์เนต ปิดไลน์ ปิดยูทูป ปิดโซเชียลมีเดีย คณะรักษาความสงบแห่งชาติ